Topic: เส้นทางเครือข่ายมะเร็งเต้านมภาคเหนือตอนบน (Suandok Breast Cancer Network)

มี.ค. 09, 2023

เริ่มต้นจาก ศ. พญ. อิ่มใจ ชิตาพนารักษ์ (หน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) มีแนวคิดที่ทำขึ้นมาครั้งแรกด้วยปัญหาและเหตุผลแรกคือ มะเร็งเต้านมเป็นอันดับหนึ่งของผู้หญิงไทย อันดับสองก็คือ ผู้ป่วยโรคนี้ต้องการการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา เช่น ศัลยแพทย์ พยาธิแพทย์ รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา อายุรแพทย์ รวมทั้งการดูแลผู้ป่วยด้านความปวดแบบประคับประคอง เพราะฉะนั้นทำอย่างไรผู้ป่วยจะได้รับการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขา

ในปี พ.ศ. 2545 เริ่มมีการรวมตัวกันของแพทย์สหสาขาวิชาในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เพื่อจัดตั้งโครงการเครือข่ายมะเร็งเต้านมภาคเหนือตอนบน (Suandok Breast Cancer Network) เพื่อตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาผู้ป่วยร่วมกันได้ดีขึ้น เมื่อมีการจัดอบรมความรู้ในการรักษาแบบแพทย์สหสาขา และสร้างทัศนคติของบุคลากรการแพทย์ร่วมกันในโรงพยาบาลเครือข่ายภาคเหนือตอนบน 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และแม่ฮ่องสอน เพื่อสร้างทีมบุคลากรการแพทย์ พยาบาลและอาสาสมัครหมู่บ้าน ในการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะต้น ระยะลุกลามและแพร่กระจาย สามารถส่งต่อผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้รวดเร็ว ลดการเสียชีวิต รวมทั้งเพิ่มอัตรการรอดชีวิตมากกว่า 5 ปีได้

ระยะเวลา 19 ปี จากปี พ.ศ. 2545 ถึงปัจจุบัน การทำงานของเครือข่ายมะเร็งเต้านมภาคเหนือตอนบนมีการพัฒนาการทำงานร่วมกันของเครือข่ายฯ วิธีการสืบค้นคัดกรองผู้ป่วยระยะแพร่การะจายและส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยทางคิวออนไลน์ เพื่อช่วยลดระยะเวลาคิวรอคอยการตรวจวินิจฉัยระหว่างศัลยแพทย์และพยาธิแพทย์ (OneDayService) โดยอำนวยความสะดวกในการส่งต่อการรักษาและให้คำปรึกษาแก่บุคลากรการแพทย์ในโรงพยาบาลลูกข่าย เช่น การลดคิวรอการรับเคมีบำบัดใน 1วัน (OneDayChemo) การจองคิวฉายรังสีรักษาผ่านระบบออนไลน์กรณีเร่งด่วนของโรงพยาบาลลูกข่ายกับโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (Express Queue Online Emergency in Metastatic Breast Cancer) การอบรมบุคลากรการแพทย์ในโรงพยาบาลเครือข่ายเพื่อเพิ่มศักยภาพในการตรวจวินิฉัย การรักษาและตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดทำสื่ออบเรมความรู้พัฒนาความศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการสืบค้นคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะต่างๆ เพื่อช่วยส่งต่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ หลังจากจัดทำข้อมูลทะเบียนผู้ป่วยในชุมชนและดูแลตรวจติดตามอาการผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในชุมชน การให้ความรู้เรื่องโรคและวิธีการดูแลผู้ป่วยกับญาติและผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด เป็นต้น

โครงการเครือข่ายมะเร็งเต้านม ภาคเหนือตอนบน-2

นอกจากนี้ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของ SBCN คือ ความทุ่มแทของทีมบุคลกรการแพทย์สหาขาวิชาในการทำงานร่วมกันในเครือข่ายฯ ประกอบกับการสนับสนุนทุนจากหน่วยงานภาครัฐ คือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 1 และภาคเอกชนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในเขตภาคเหนือตอนบน เป็นความภาคภูมิใจของบุคลากรการแพทย์สหสาขาวิชาในเครือข่ายฯที่ได้รับรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติประจำปี 2558 สาขาพัฒนาระบบบริการดีเด่น จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) และซึ่งในปีเดียวกันนั้นเองก็ยังได้รับรางวัลในระดับนานาชาติ ได้เป็นทุนสนับสนุน SPARC MBC Challenge Grant จากสมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากล (U.I.C.C.) ที่ส่งต่อพลังและแรงบันดาลใจในการทำงานให้การขยายผลเครือข่ายบุคลากรการแพทย์สหสาขาวิชา เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมให้เข้าถึงการรักษาอย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ เพิ่มอัตราการรอดชีวิตมากกว่า 5 ปีของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในประเทศ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้มากขึ้นต่อไปในอนาคต

ซึ่งทางบริษัทโนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด เล็งเห็นความสำคัญและยินดีที่เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของเครือข่ายมะเร็งเต้านมภาคเหนือตอนบนในโครงการอบรมแพทย์ พยาบาล และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และเพิ่มศักยภาพการทำงานของเครือข่ายมะเร็งเต้านมไทยให้มีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่องหลายปีที่ผ่านมา และทำให้ดิฉันในฐานะ Patient Advocacy ฝ่ายวิชาการการแพทย์ รู้สึกประทับใจและภาคภูมิใจ มีความสุขในการทำงานที่มีคุณค่า และมีส่วนร่วมกับทีมงานเพื่อประสานงานขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือและส่งต่อการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมตลอดมาตามปณิธานของบริษัท ..

คุณรักษมล ตั้งคุณกิตติ

คุณรักษมล ตั้งคุณกิตติ

ผู้ช่วยผู้จัดการทีมช่วยเหลือผู้ป่วย

(Asso. Patient Advocacy Manager)